731 จำนวนผู้เข้าชม |
พาส่อง 5 วัฒนธรรมการกินกาแฟของแต่ละชาติ มาดูกันเลย!
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย กระจายไปทั่วทุกมุมโลก แต่ละชาติมี “วัฒนธรรมการกินกาแฟ” อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป กาแฟในทุกวันนี้จึงไม่ได้เป็นเพียง “เครื่องดื่ม” ที่ส่งกลิ่นหอมละมุนเท่านั้น ทว่ายังทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมทางสังคมที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน
● France (ฝรั่งเศส)
เมล็ดกาแฟถูกนำเข้ามายังฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกที่เมือง Marseille ในปี 1644 "Café Procope" เป็นร้านกาแฟแห่งแรกของฝรั่งเศส (Parisian cafes) เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 1686 ชาวฝรั่งเศสมักเริ่มต้นวันใหม่ด้วยวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ Café au Lait เป็นกาแฟผสมกับฟองนมในสัดส่วนที่เท่ากัน คล้ายกับ Cappuccino และอีกหนึ่งเอกลักษณ์ ก็คือ แก้วกาแฟที่ฝรั่งเศสจะมีปากกว้างมาก เป็นเพราะชาวฝรั่งเศสจะชอบจุ่มขนมปัง Baguette หรือ Croissant กลิ่นเนยสด ในแก้วกาแฟชาวฝรั่งเศสจะไม่นิยมดื่มกาแฟดำร้อนแบบ Espresso (Cafe) พร้อมกับทานอาหารมือหลักแต่จะดื่มหลังมื้ออาหาร หรือดื่มในช่วงยามบ่ายเสียมากกว่า
● Vietnam (เวียดนาม)
กาแฟกับคนเวียดนาม ผูกพันกันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 สมัยที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เรื่องราวของกาแฟถูกถ่ายทอดทิ้งไว้เป็นมรดกอันล้ำค่า ซึ่งทางเวียดนามนำสิ่งนี้มาต่อยอด ด้วยการเปิดโรงงานผลิตกาแฟขนาดใหญ่หลังจบสงคราม จนทุกวันนี้กลายเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่อันดับสองของโลกการดื่มกาแฟของที่นี่ จะค่อนข้างนิยมในกลุ่มวัยรุ่นมากพอสมควร เพราะร้านกาแฟที่มีหลากหลายแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นบรรยากาศร้านแบบ Open-air จึงดึงดูดให้กลุ่มวัยรุ่นมานั่งพูดคุย มีมุมถ่ายรูปกันได้ทุกวัน “กาแฟโรบัสต้า” คือจุดแข็งที่ทำให้กาแฟเวียดนามแตกต่างกว่าเจ้าอื่นๆ ด้วยปริมาณคาเฟอีนที่เข้มข้น ทำให้กาแฟตัวนี้มีรสชาติเข้มข้นและส่งกลิ่นหอมชัดเจน หากคุณไปเวียดนาม นอกจากจะว้าวกับการคมนาคมอันแสนวุ่นวายแล้ว ความหนาแน่นของร้านกาแฟข้างทางยังเป็นสิ่งที่ทำให้คุณมหัศจรรย์ได้ใจเช่นกัน
● Japan (ญี่ปุ่น)
กาแฟถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นครั้งแรกโดยชาวดัตช์ ในสมัยปี 1700 ก่อนจะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปี 1888 คุณ Tadao Ueshima ตัดสินใจเปิดร้านกาแฟ Kahiichakan ขึ้นเป็นแห่งแรกในญี่ปุ่นระหว่างที่กาแฟค่อยๆ แทรกซึมเข้าสู่ดินแดนอาทิตย์อุทัย ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี 1939) สถานการณ์กลับพลิกผัน ญี่ปุ่นกลับออกคำสั่งห้ามนำเข้า “กาแฟ” จากฝั่งตะวันตกทันที เนื่องด้วยนโยบายชาตินิยม ทำให้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มเฉพาะกลุ่ม ในเวลาต่อมา ร้านกาแฟเริ่มเป็นที่นิยมในการนัดพบปะ พูดคุยกันแบบเบา ๆ (คือไม่เชิงเป็นการรื่นเริงสังสรรค์) จึงทำให้ร้านกาแฟหลายร้านในเมืองเกียวโต เริ่มมีการปรับรูปแบบเป็น “Pure cafés” หรือ Jun-kissa โดยเน้นไปที่คุณภาพของการชงกาแฟ บรรยากาศในร้านที่แสนสงบเรียบง่าย ตกแต่งด้วยไม้หรือสีที่ไม่ได้ดูฉูดฉาด เน้นการดื่มเครื่องดื่ม Soft drink กับขนมหวานแทนคนญี่ปุ่นจะนิยมทานกาแฟพร้อมพูดคุยกันด้วยเสียงที่ค่อนข้างเบาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมนั่งแช่ในร้านกาแฟกันนาน ๆ
●Italy (อิตาลี)
วัฒนธรรมการดื่มกาแฟของชาวอิตาลีมักนิยมดื่มเอสเพรสโซร้อน และดื่มกันมากถึงคนละ 4-5 แก้ว แต่แก้วที่ว่ามีลักษณะเล็กคล้ายแก้วเหล้า เหมาะสำหรับการดื่ม 2-3 ครั้งต่อ 1 ถ้วย แต่ไม่ใช่ว่าจะตาแข็งกันทั้งวัน ทั้งคืนเหมือนบ้านเรานะคะ เพราะที่นั้นไม่ได้ใช้เมล็ดกาแฟคั่วเข้มอย่างบ้านเรา จึงไม่ขมสามารถทานได้เรื่อยๆ ยืนจิบกันร้อนๆ หน้าเคาน์เตอร์เลย เนื่องจากไม่ค่อยมีเก้าอี้เหมือนบ้านเรา อีกทั้งผู้คนก็นิยมดื่มกาแฟกันเยอะมากชาวอิตาลีดื่มกาแฟ เป็นกิจวัตรประจำวัน จะไม่มีการดื่มเพื่อแก้ง่วงเหมือนคนไทย เมื่อต้องการดื่มกาแฟในคาเฟ่ ให้เดินไปสั่งกับบาริสต้าโดยตรง และจ่ายเงินทันที และถ้าต้องการดื่มเอสเปรสโซ่ ให้สั่งไปเลยว่า Caffe โดยชาวอิตาลีจะรู้จักกันดีว่า มันหมายถึงเอสเปรสโซ่
● Türkiye (ตุรกี)
กาแฟตุรกี มีประวัติและความเป็นมาที่ยาวมาก เพราะกาแฟตุรกี หรือเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Turk kahvesi หรือ Turkish kahve ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาอาหรับ ประเทศตุรกีมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่การนำเข้าเมล็ดกาแฟในช่วงปี ค.ศ. 1540 หรือในสมัยของสุลต่านสุลัยมาน จักรวรรดิออตโตมัน สุลต่านสุลัยมาน ที่เพิ่งเคยจะลิ้มลองรสชาติของกาแฟ ก็กลับติดใจเอาเสียมาก จนกระทั่งกาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในพระราชวังและกลุ่มชนชั้นสูง กาแฟตุรกี จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างจากกาแฟของประเทศอื่น ๆ คือ "กากกาแฟ" ที่ข้นคลั่กที่อยู่กันแก้ว นิยมเสิร์ฟพร้อมขนมหวาน"Turkish Delight''
"Türkiye Coffee" ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็น "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" (Intangible Cultural Heritage) โดยยูเนสโก ในปี 2013
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Turkish_coffee...
https://www.kaidee.com/blog/coffee-culture-around-the-world/
https://www.mistercoffeeshop.net/content/29312/italy-coffee
อ่านความรู้หรือสาระอื่นๆ เพิ่มเติม >> #Baramioknowledge #Baramio #BaramioCoffee